ต่อ พรบ รถยนต์ ใช้ เอกสาร อะไร บ้าง เป็นคำถามที่ผู้เป็นเจ้าของรถยนต์จะรู้ และจัดเตรียมให้เรียบร้อย ครบถ้วน ตามแต่ปรเภทและ ลักษณะของรถยนต์ ที่จะต่อ พรบ รถยนต์ ในบทความนี้จะมาอธิบายว่ามีเอกสารสำคัญอะไรบ้าง ที่จะต้องใช้ ต่อ พรบ รถยนต์
จะ ต่อ พรบ รถยนต์ ใช้ เอกสาร อะไร บ้าง
การต่อ พรบ. รถยนต์ไม่ใช่เรื่องที่ยุ่งยาก โดยเฉพาะถ้าเป็นรถใหม่ แต่ถ้าเป็นรถเก่าเกิน 7 ปี ก็มีขั้นตอนมากขึ้นอีกเล็กน้อย คือต้องมีใบตรวจสภาพรถยนต์เพิ่มมากขึ้น เพียงเท่านี้
- สำเนาบัตรประชาชน (ใช้เพื่อยืนยันตัวตน)
- เล่มทะเบียนรถตัวจริงหรือสำเนาก็ได้ (เพื่อตรวจสอบข้อมูล)
- ใบตรวจสภาพรถจาก ตรอ. (กรณีรถยนต์อายุครบ 7 ปีขึ้นไป)
- ใบตรวจเช็คสภาพถังแก๊ส (กรณีรถติดแก๊สเท่านั้น)
ทำไมต้องต่อ พรบ. รถยนต์?
พรบ. รถยนต์ คือประกันภัยภาคบังคับ เป็นกฎหมายที่บังคับใช้กับรถยนต์ทุกคันในประเทศไทย เพื่อคุ้มครองผู้ที่ได้รับความเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ ทั้งผู้ขับขี่และคู่กรณี หรือ ทั้ง2ฝ่ายในอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น การต่อ พรบ. จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ขับขี่ทุกคนต้องปฏิบัติตาม
สถานที่รับต่อ พรบ รถยนต์
เมื่อเรามีเอกสารที่ต้องใช้แล้ว สามารถไปต่อ พรบ รถยนต์ได้ที่เขียนด้านล่าง และอย่าลืมเตรียมเงินให้พร้อม
- กรมขนส่งทางบก
- เคาเตอร์เซอร์วิส 7-11
- เฉพาะ รถเก๋ง รถตู้ ส่วนบุคคลเท่านั้น
- ห้างสรรพสินค้าที่มีบริการขายประกันภัยรถยนต์ จะมี พรบ จำหน่ายด้วยเช่นกัน
- ตัวแทนประกันภัย
- อู่ซ่อมรถหลายแห่งก็มีบริการทำพร บ
ค่าใช้จ่ายในการต่อ พรบ รถยนต์
ค่าใช้จ่ายในการต่อ พรบ รถยนต์มีความแตกต่างกันไปตามประเภทของรถยนต์ รถกระบะ รถบรรทุก น้ำหนัก โดยมีรายละเอียดดังนี้
ประเภทรถโดยสาร | ค่าใช้จ่าย ต่อ พรบ | |
---|---|---|
รถเก๋งไม่เกิน 7 ที่นั่ง | 600 บาท | |
รถตู้ จำนวน 7 ที่นั่ง ไม่เกิน 15 ที่นั่ง | 1,100 บาท | |
รถโดยสาร เกิน 15 ที่นั่ง แต่ไม่เกิน 20 ที่นั่ง | 2,050 บาท | |
รถโดยสาร เกิน 20 ที่นั่ง แต่ไม่เกิน 40 ที่นั่ง | 3,200 บาท |
ประเภทรถกระบะ – รถบรรทุก | ค่าใช้จ่าย ต่อ พรบ | |
---|---|---|
รถกระบะ น้ำหนักไม่เกิน 3 ตัน | 900 บาท | |
รถบรรทุก น้ำหนักเกิน 3 ตัน แต่ไม่เกิน 6 ตัน | 1,220 บาท | |
รถบรรทุก น้ำหนักเกิน 6 ตัน แต่ไม่เกิน 12 ตัน | 1,310 บาท |
ประเภทรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล | ค่าใช้จ่าย ต่อ พรบ / คิดในอัตรา | |
---|---|---|
ไม่เกิน 75 ซี.ซี. | 161.57 บาท/ปี | |
เกิน 75-125 ซี.ซี. | 323.14 บาท/ปี | |
เกิน 125-150 ซี.ซี. | 430.14 บาท/ปี | |
เกิน 150 ซี.ซี. ขึ้นไป | 645.21 บาท/ปี |
ประเภทรถจักรยานยนต์รับจ้าง / ให้เช่า | ค่าใช้จ่าย ต่อ พรบ / คิดในอัตรา | |
---|---|---|
ไม่เกิน 75 ซี.ซี. | 161.57 บาท/ปี | |
เกิน 75-125 ซี.ซี. | 376.64 บาท/ปี | |
เกิน 125-150 ซี.ซี. | 430.14 บาท/ปี | |
เกิน 150 ซี.ซี. ขึ้นไป | 645.21 บาท/ปี |
ประเภทรถอื่นๆ | ค่าใช้จ่าย | |
---|---|---|
รถลากรถพ่วง รถหัวลากจูง | 2,370 บาท | |
รถพ่วง | 600 บาท | |
รถยนต์ใช้ในการเกษตร | 90 บาท |
ต่อ พรบ รถยนต์ ออนไลน์
กรมการขนส่งทางบก ต่อภาษี และ ต่อ พรบ รถยนต์ ผ่านช่องทางออนไลน์ได้ ไม่จำเป็นต้องเดินทางไปให้เหนื่อย สามารถทำได้ สะดวก รวดเร็ว โดยไปที่เว็บไซค์ของ กรมขนส่งทางบก และสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ของอ่าน ค่อ พรบ รถยนต์ออนไลน์ได้ที่ ต่ออายุ พรบ รถยนต์
สรุป
การต่อ พรบ รถยนต์ ต้องใช้เอกสาร 3 อย่างได้แก่ สำเนาบัตรประชาชน, เล่มทะเบียนรถตัวจริงหรือสำเนา, ใบตรวจสภาพรถจาก ตรอ. แต่ถ้าเป็นรถที่ใช้แก็สก็อย่าลืม ใบตรวจเช็คสภาพถังแก๊ส ด้วย การต่อ พรบ สามารถต่อได้ทั้งช่องหน้าออนไลน์ หรือทางกรมขนส่งทางบกโดยตรงก็ได้
และ พร บ ยังเป็นข้อกำหนดของกฏหมายอีกด้วย จึงจำเป็นอย่างมากที่จะไม่ปล่อยให้ขาด