ใครก็ตามที่เป็นเจ้าของรถ จะต้องทำ การต่อภาษีรถ ทุกคนเพราะเป็นสิ่งที่กฏหมายเขียนไว้จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรจะละเลยหรือ ขาดความต่อเนื่อง ไม่งั้นจะถือว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฏหมาย และเรื่องนี้ยังเกี่ยวข้องกับ พรบ และประกันอีกด้วย ในบทความนี้จะมาอธิบายเรื่องของการต่อภาษีรถ
การต่อภาษีรถ
การต่อภาษีรถ หรือเรียกอีกอย่างว่า การต่อทะเบียนรถยนต์ เป็นสิ่งที่ต้องทำเป็นประจำทุกปีของผู้ที่เป็นเจ้าของรถยนต์ทุกคนจะต้องทำ ซึ่งการต่อภาษีรถยนต์เราจะต้องเตรียมอะไรบ้าง, เอกสารอะไร, รถยนต์แต่ล่ะประเภทแตกต่างกันไหม, ค่าใช้จ่ายเท่าไร และต่อภาษีได้ที่ไหนบ้าง
เอกสารในการ ต่อภาษีรถ มีอะไรบ้าง
เอกสารเหล่านี้ใช้เพื่อ เป็นการยืนยันความเป็นเจ้าของรถ โดยจะมี
- สำเนาบัตรประชาชน
- เล่มทะเบียนรถตัวจริงหรือสำเนาก็ได้
- ใบตรวจสภาพรถจาก ตรอ. (ใช้ในกรณีรถยนต์ อายุครบ 7 ปีขึ้นไป)
- พรบ รถยนต์ (ที่ยังไม่หมดอายุ)
- ใบตรวจเช็คสภาพถังแก๊ส (กรณีรถติดแก๊ส)
ต่อภาษีรถยนต์ เสียกี่บาท
รถยนต์มีหลายประเภท ทำให้ค่าใช้จ่ายมีความแตกต่างกัน รวมถึง ขนาดเครื่องยนต์กี่ CC, น้ำหนักรถ และอายุการใช้งาน ก็ส่งผลต่อจำนวนภาษีที่ต้องเสียอีกด้วย โดยเราสามารถคำนวณได้จากเว็บไซค์นี้ คำนวณ ค่าภาษีรถยนต์ ออนไลน์
ป้ายทะเบียนรถยนต์ ไม่เกิน 7 ที่นั่ง | ขนาดเครื่องยนต์กี่ CC | คิดภาษี CC ล่ะ | ภาษีแต่ล่ะช่วงชั้น | ภาษีสะสมสูงสุด |
---|---|---|---|---|
ป้ายทะเบียน สีขาว ตัวอักษร สีดำ | 1-600 CC | 50 สตางค์ | 300 บาท | 300 บาท |
600-1800 CC | 1.50 สตางค์ | 1800 บาท | 2100 บาท | |
1800 CC ขึ้นไป | 4 บาท |
ตารางสำหรับ ป้ายทะเบียน ขาว ดำ
ถ้าคิดเป็นสูตรคำนวลคณิตศาสตร์
- รถขนาดเครื่อง 1500 CC อายุ 1 ปี
- 600 CC แรก = 300 (600 x 0.5)
- ส่วนเกินระหว่าง 600 ถึง 1500 = 1350 (1500 – 600 = 900 x 1.5)
- รถมีอายุการใช้งาน 1 ปี = 1650 (1350 + 300)
- รถขนาดเครื่อง 1600 CC อายุ 2 ปี
- 600 CC แรก = 300 (600 x 0.5)
- ส่วนเกินระหว่าง 600 ถึง 1600 = 1500 (1600 – 600 = 1000 x 1.5)
- รถมีอายุการใช้งาน 2 ปี = 1800 (1500 + 300)
- รถขนาดเครื่อง 2200 CC อายุการใช้งาน 3 ปี
- 1800 CC แรก = 2100 (600 x 0.5 = 300) + (1800 – 600 = 1200 x 1.5 = 1800) = 2100)
- ส่วนเกินระหว่าง 1800 ถึง 2200 = 1600 (2200 – 1800 = 400 x 4)
- รถมีอายุการใช้งาน 3 ปี = 3700 (1600 + 2100)
ป้ายทะเบียนรถยนต์ ไม่เกิน 7 ที่นั่ง | น้ำหนักรถตั้งแต่ | เสียภาษี |
---|---|---|
ป้ายทะเบียน สีขาว ตัวอักษร สีเขียว | 50-75 กก. | 450 บาท |
751-1000 กก. | 600 บาท | |
1001-1250 กก. | 750 บาท | |
1251-1500 กก. | 900 บาท | |
1501-1750 กก. | 1050 บาท | |
1751-2000 กก. | 1350 บาท | |
2001-2500 กก. | 1650 บาท |
ตารางสำหรับ ป้ายทะเบียน ขาว เขียว
ป้ายทะเบียนรถยนต์ ไม่เกิน 7 ที่นั่ง | น้ำหนักรถ | เสียภาษี |
---|---|---|
ป้ายทะเบียน สีขาว ตัวอักษร สีน้ำเงิน | น้อยกว่า 1800 กก. | 1300 บาท |
มากกว่า 1800 กก. | 1600 บาท |
ป้ายทะเบียน ขาว น้ำเงิน
ลดค่าธรรมเนียมการจ่ายภาษี ด้วยอายุการใช้งาน
เมื่อเราใช้รถยนต์ไปได้ซัก 6 ปี จะมีส่วนลดตามปีตั้งแต่ 6-10 ปี
อายุการใช้งาน (นับเป็นปี) | ลดราคา |
---|---|
6 | 10% |
7 | 20% |
8 | 30% |
9 | 40% |
10 | 50% |
คิดเป็นตัวเลขคณิตศาสตร์
- รถขนาดเครื่อง 1500 CC จะคิดเป็นภาษีล่ะ 1.50 สตางค์ และ ใช้งานมา 8 ปี จะลด 30%
- 600 CC แรก = 300 (600 x 0.5)
- ส่วนเกินระหว่าง 600 ถึง 1500 = 1350 (1500 – 600 = 900 x 1.5)
- รถมีอายุการใช้งาน 8 ปี = 1155 (1350 + 300 = 1650 – 495)
- รถขนาดเครื่อง 1600 CC จะคิดเป็นภาษีล่ะ 1.50 สตางค์ และ ใช้งานมา 9 ปี จะลด 40%
- 600 CC แรก = 300 (600 x 0.5)
- ส่วนเกินระหว่าง 600 ถึง 1600 = 1500 (1600 – 600 = 1000 x 1.5)
- รถมีอายุการใช้งาน 9 ปี = 1080 (1500 + 300 = 1800 – 720)
- รถขนาดเครื่อง 2200 CC จะคิดเป็นภาษีล่ะ 4 สตางค์ และ ใช้งานมา 10 ปี จะลด 50%
- 1800 CC แรก = 2100 (600 x 0.5 = 300) + (1800 – 600 = 1200 x 1.5 = 1800) = 2100)
- ส่วนเกินระหว่าง 1800 ถึง 2200 = 1600 (2200 – 1800 = 400 x 4)
- รถมีอายุการใช้งาน 10 ปี = 1850 (1600 + 2100 = 3700 – 1850)
ต่อภาษีรถได้ที่ไหนบ้าง
เมื่อมีเอกสาร และคำนวณค่าใช้จ่ายในการต่อภาษีเสร็จสิ้นแล้ว เราสามารถไปต่อภาษีได้ที่
- กรมขนส่งทางบก
- เคาเตอร์เซอร์วิส 7-11
- ต้องเป็นรถจักรยานยนต์ที่มีอายุการใช้งานไม่เกิน 5 ปี
- สามารถต่อภาษีรถยนต์ล่วงหน้าได้ 3 เดือน หรือ 90 วัน
- ห้างสรรพสินค้าที่มีบริการขายประกันภัยรถยนต์ จะมี พรบ จำหน่ายด้วยเช่นกัน
- ตัวแทนประกันภัย
- อู่ซ่อมรถหลายแห่งก็มีบริการทำพรบ
หรือจะทำกับเรา Postantz บริการครบวงจร ต่อภาษี ทำประกันที่เลือกได้ ทุกแบบที่ต้องการ
ต่อภาษีรถผ่านช่องทาง ออนไลน์
เราสามารถต่อภาษี ผ่านช่องทางออนไลน์ได้ เพื่อความสะดวกมากยิ่งขึ้น ผ่านเว็บไซค์ของกรมขนส่งทางบก
เข้าสู่ระบบ หรือ เข้าสู่ระบบผ่าน Digital ID
เมื่อเข้าสู่ระบบได้แล้ว ให้ไปที่ บริการ แล้วกด “ชำระภาษีรถประจำปีผ่านอินเตอร์เน็ต
ถ้าไม่มีข้อมูลขึ้น ให้ลองกรอกข้อมูลค้นหา หรือมีข้อมูลแล้ว ให้กดไปที่ ยื่นชำระภาษี
ตรวจสอบข้อมูลให้ถูกต้อง จากนั้นกดไปที่ “เลือกวิธีชำระเงิน”
เราสามารถเลือกวิธีการชำระเงิน ตามความสะดวกของเราได้
ตรวจสอบผลการชำระภาษีในกรณีที่ ชำระเงินไม่สำเร็จ
Login เข้าสู่ระบบและกดไปที่ ชำระภาษีรถประจำปี แล้วกดที่ “ตรวจสอบผลชำระภาษี/เปลี่ยนช่องทางชำระเงิน”
ในตารางจะแสดงข้อมูล รถของเรา เราสามารถตรวจสอบการชำระเงิน หรือ เปลี่ยนช่องทางชำระเงินก็ได้
เมื่อชำระเงินสำเร็จ ทางกรมขนส่งทางบก จะส่งเอกสารได้แก่ ป้ายแสดงการเสียภาษี ผ่านทางไปรษณีย์ ส่งตามที่อยู่ที่ลงทะเบียนไว้ในเว็บไซค์ สิ่งนี้สามารถนำมาเป็นหลักฐาน ในการปรับเล่มทะเบียนได้ที่สำนักงานขนส่ง ทั่วประเทศ
ปัญหาที่จะเกิดขึ้นถ้า ขาดต่อภาษี
- เมื่อขาดการต่อทะเบียน จะทำให้โดนค่าปรับ 1% เพิ่มเติมของภาษีรถยนต์ต่อเดือน
- เมื่อขาดเกิน 2 ปี จะเสียค่าปรับตามจำนวนที่ค้าง
- เมื่อขาดเกิน 3 ปี จะถูกระงับป้ายทะเบียน ทำให้จ่ายภาษีไม่ได้ และเราต้องทำการซื้อทะเบียนใหม่ และจะต้องเสียค่าปรับตามจำนวนปีท่ต้างอีกด้วย
สรุป
การต่อภาษีรถ เป็นสิ่งที่ผู้ที่เป็นเจ้าของรถต้องทำทุกคน เราสามารถต่อภาษีได้หลายช่องทาง ผ่านทางช่องทางออนไลน์, ผ่านกรมขนส่งทางบก, หรือเคาเตอร์เซอร์วิสใกล้บ้าน ก็ได้
บทความที่เกี่ยวข้อง
พร บ รถยนต์ ขาด ปรับ เท่า ไหร่