ขาดต่อภาษีรถยนต์ 1 ปี ค่าปรับ จะเท่าไหร่นั้น ไม่ต้องกังวลมาก ขั้นตอนไม่ยุ่งยาก โดยมีขั้นตอนเพิ่มขึ้นคือ ต้องไปตรวจสภาพ และทำ พรบให้เรียนร้อย จึงจะทำการต่อภาษีได้
ขาดต่อภาษีรถยนต์ 1 ปี ค่าปรับ เท่าไหร่
เมื่อเราขาดต่อภาษีรถยนต์ 1 ปี จะเสียค่าปรับดังนี้
- โทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท
- เสียค่าปรับเพิ่มโดยคิดเป็น 1% ต่อเดือน ที่ขาดต่อภาษีล่าช้า
- หากไม่ได้ต่อ พ.ร.บ. มีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท
- เมื่อไม่ได้ต่อ พ.ร.บ. จึงทำให้ไม่สามารถต่อภาษีได้ มีโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท
- เมื่อไม่ได้ต่อ พ.ร.บ. และต่อภาษี ทำให้ป้ายภาษีใช้ไม่ได้ มีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท
ถ้าเป็นในกรณีที่ ขาดต่อภาษีเกิน 2 ปี เจ้าของรถจะต้องทำการตรวจสภาพรถยนต์ของตัวเอง และจะต้อง เตรียมเอกสารในต่อ ภาษี และ ต่อ พ.ร.บ. โดยจะมี
- ทะเบียนบ้าน เจ้าของรถ
- สมุดทะเบียน เจ้าของรถ
- สำเนาบัตรประชาชน เจ้าของรถ
และอาจจะต้องเตรียมเงินสำหรับค่าใช้จ่ายของ ค่าต่อทะเบียน ต่อภาษี และค่าตรวจสภาพรถอีกด้วย แต่ถ้าเป็นกรณีที่เรา
ขาดต่อภาษีเกิน 3 ปี จะทำให้เรามีปัญหาที่หนักที่สุดคือ ถูกระงับทะเบียนรถ และอาจจะโดน ภาษีย้อนหลัง เพิ่มเติมอีกด้วย แล้วก็เราจะต่อเตรียมเอกสาร ในการต่อ ภาษี และ ต่อ พ.ร.บ. เหมือนกับ กรณีที่ขาดต่อภาษีเกิน 2 ปี เช่นกัน
เอกสารสำหรับขอป้ายทะเบียนใหม่ (กรณีขาดต่อภาษีเกิน 3 ปี)
เมื่อเรามีการขาดต่อภาษีเกิน 3 ปี ทางกรมขนส่งทางบกจะส่งจดหมายแจ้งว่า ทะเบียนรถของคุณ ที่ระงับ คุณมีเวลาแก้ไขภายใน 30 วัน ถ้ามากกว่านั้น จะมีโทษปรับเพิ่ม 1,000 บาท
ขอป้ายทะเบียนใหม่
- นำแผ่นป้ายทะเบียนเก่า และ สมุดคู่มือไปให้ ทางราชการในเขตพื้นที่ที่รถจดทะเบียนไว้
- ชำระภาษีที่ค้างย้อนหลัง
- แจ้งขอใช้รถอีกครั้ง
- ซื้อ พ.ร.บ. ใหม่อีกครั้ง
เอกสารที่ต้องเตรียม สำหรับขอป้ายทะเบียนใหม่
- บันทึกการระงับทะเบียน
- บัตรประชาชนของเจ้าของรถ (ตัวจริงและสำเนา)
- พ.ร.บ. รถยนต์ ที่ทำใหม่
ต่อภาษีที่ขาดได้ที่ไหนบ้าง
คุณสามารถต่อภาษีได้ผ่านเว็บไซค์ กรมขนส่งทางบก, ที่กรมขนส่งทางบกทั่วประเทศ หรือผ่านเคาเตอร์เซอร์วิสใกล้บ้าน
ไม่ควรขาดต่อภาษีเกิน 1 ปี
จะขาดต่อ ภาษีรถยนต์ 1 ปี หรือ 2 ปี หรือ 3 ปีก็ไม่ควรเด็ดขาด เนื่องด้วยเป็นประกันภาคบังคับ จึงทำให้เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับกฏหมายอีกด้วย และเมื่อเราขาดต่อภาษี จะมีผลเสียมามากมาย ค่าใช้จ่ายที่บานปลายที่อาจจะเสียมากกว่า 10,000 บาท และขั้นตอนแก้ไขที่ยุ่งยาก เมื่อมีเวลาว่างในระยะเวลา 1 ปี เราก็ต้องทำการต่อภาษีทุกๆครั้ง ห้ามขาดห้ามลืมโดยเด็ดขาด