ค่าต่อภาษีรถ เมื่อมีรถก็ต้องมีค่าภาษีแน่นอนหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่มีรายการรายละเอียดอะไรบ้างที่เจ้าของรถต้องรู้ เมื่อครบกำหนดเสียภาษีรถประจำปี
ค่าต่อภาษีรถ
ค่าต่อภาษีรถ จะขึ้นอยู่กับ อายุรถ, ขนาดเครื่องยนต์ (CC) และน้ำหนักรถ ทำให้มีค่าต่อภาษีที่แตกต่างกัน หรือจะคำนวณแบบง่ายๆผ่านทางเว็บไซค์นี้ คำนวณ ค่าภาษีรถยนต์ ออนไลน์
ป้ายทะเบียนรถยนต์ ไม่เกิน 7 ที่นั่ง | ขนาดเครื่องยนต์กี่ CC | คิดภาษี CC ล่ะ | ภาษีแต่ล่ะช่วงชั้น | ภาษีสะสมสูงสุด |
---|---|---|---|---|
ป้ายทะเบียน สีขาว ตัวอักษร สีดำ | 1-600 CC | 50 สตางค์ | 300 บาท | 300 บาท |
600-1800 CC | 1.50 สตางค์ | 1800 บาท | 2100 บาท | |
1800 CC ขึ้นไป | 4 บาท |
ตารางสำหรับ ป้ายทะเบียน ขาว ดำ
ตัวอย่างการคำนวณทางคณิตศาสตร์ ค่าต่อภาษีรถ โดยจะมี อายุรถ, ขนาดเครื่องยนต์ (CC) และน้ำหนักรถ
- รถยนต์ ขนาดเครื่อง 1500 CC อายุ 1 ปี
- 600 CC แรก = 300 (600 x 0.5)
- ส่วนเกินระหว่าง 600 ถึง 1500 = 1350 (1500 – 600 = 900 x 1.5)
- รถมีอายุการใช้งาน 1 ปี = 1650 (1350 + 300)
- รถยนต์ ขนาดเครื่อง 1600 CC อายุ 2 ปี
- 600 CC แรก = 300 (600 x 0.5)
- ส่วนเกินระหว่าง 600 ถึง 1600 = 1500 (1600 – 600 = 1000 x 1.5)
- รถมีอายุการใช้งาน 2 ปี = 1800 (1500 + 300)
- รถยนต์ ขนาดเครื่อง 2200 CC อายุการใช้งาน 3 ปี
- 1800 CC แรก = 2100 (600 x 0.5 = 300) + (1800 – 600 = 1200 x 1.5 = 1800) = 2100)
- ส่วนเกินระหว่าง 1800 ถึง 2200 = 1600 (2200 – 1800 = 400 x 4)
- รถมีอายุการใช้งาน 3 ปี = 3700 (1600 + 2100)
ป้ายทะเบียนรถยนต์ ไม่เกิน 7 ที่นั่ง | น้ำหนักรถตั้งแต่ | เสียภาษี |
---|---|---|
ป้ายทะเบียน สีขาว ตัวอักษร สีเขียว | 50-75 กก. | 450 บาท |
751-1000 กก. | 600 บาท | |
1001-1250 กก. | 750 บาท | |
1251-1500 กก. | 900 บาท | |
1501-1750 กก. | 1050 บาท | |
1751-2000 กก. | 1350 บาท | |
2001-2500 กก. | 1650 บาท |
สำหรับ ป้ายทะเบียน ขาว เขียว จะไม่มีการคำนวณให้ยุ่งยาก เพียงแค่น้ำหนักรถอยู่ในเกณฑ์ ก็เสียภาษีตามนั้น
ป้ายทะเบียนรถยนต์ ไม่เกิน 7 ที่นั่ง | น้ำหนักรถ | เสียภาษี |
---|---|---|
ป้ายทะเบียน สีขาว ตัวอักษร สีน้ำเงิน | น้อยกว่า 1800 กก. | 1300 บาท |
มากกว่า 1800 กก. | 1600 บาท |
สำหรับ ป้ายทะเบียน ขาว น้ำเงิน ก็ไม่มีการคำนวณที่ยุ่งยากเช่นกัน ขอแค่เพียงอยู่ในเกณฑ์ ก็เสียภาษีตามนั้น
ลดค่าต่อภาษี ด้วยอายุการใช้งานของรถยนต์
อย่างที่บอกไว้ข้างต้น อายุการใช้งานของรถก็เกี่ยวข้องกับ ค่าต่อภาษีเช่นกัน โดยยิ่งอายุการใช้งานที่นาน จะยิ่งทำให้ค่าต่อภาษีมีราคาที่ถูกขึ้น โดยจะมีการใช้งาน 6-10 ปี และจะลดราคาเป็นเปอร์เซ็นตั้งแต่ 10% – 50%
อายุการใช้งาน (นับเป็นปี) | ลดราคา |
---|---|
6 | 10% |
7 | 20% |
8 | 30% |
9 | 40% |
10 | 50% |
คิดเป็นตัวเลขคณิตศาสตร์ ต่อจากข้างต้น รถยนต์ ขนาดเครื่อง 1500 CC, 1600 CC และ 2200 CC
- รถยนต์ ขนาดเครื่อง 1500 CC จะคิดเป็นภาษีล่ะ 1.50 สตางค์ และ ใช้งานมา 8 ปี จะลด 30%
- 600 CC แรก = 300 (600 x 0.5)
- ส่วนเกินระหว่าง 600 ถึง 1500 = 1350 (1500 – 600 = 900 x 1.5)
- รถมีอายุการใช้งาน 8 ปี = 1155 (1350 + 300 = 1650 – 495)
- รถยนต์ ขนาดเครื่อง 1600 CC จะคิดเป็นภาษีล่ะ 1.50 สตางค์ และ ใช้งานมา 9 ปี จะลด 40%
- 600 CC แรก = 300 (600 x 0.5)
- ส่วนเกินระหว่าง 600 ถึง 1600 = 1500 (1600 – 600 = 1000 x 1.5)
- รถมีอายุการใช้งาน 9 ปี = 1080 (1500 + 300 = 1800 – 720)
- รถยนต์ ขนาดเครื่อง 2200 CC จะคิดเป็นภาษีล่ะ 4 สตางค์ และ ใช้งานมา 10 ปี จะลด 50%
- 1800 CC แรก = 2100 (600 x 0.5 = 300) + (1800 – 600 = 1200 x 1.5 = 1800) = 2100)
- ส่วนเกินระหว่าง 1800 ถึง 2200 = 1600 (2200 – 1800 = 400 x 4)
- รถมีอายุการใช้งาน 10 ปี = 1850 (1600 + 2100 = 3700 – 1850)
เช็คภาษีผ่านช่องทางออนไลน์
เราอาจจะไม่จำเป็นที่ต้องคำนวณภาษีรถยนต์ก็ได้ เราสามารถดูค่าต่อภาษีได้ทันทีผ่านช่องทางออนไลน์ โดยดูจากเว็บไซค์ของกรมขนส่งทางบก ด้วยตรง
เมื่อเข้ามาในเว็บไซค์ของกรมขนส่งทางบก เราไม่จำเป็นต้องเข้าสู่ระบบ
ในหน้าต่าง บริการ ให้กดไปที่ “สอมถามข้อมูลค่าภาษีรถประจำปี”
เมื่อกดเข้ามาในหน้านี้ ให้ใส่ข้อมูลรถที่ต้องการรตรวจสอบภาษี
- เลือกข้อมูลประเภทรถ
- รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน
- รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน
- รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล
- รถจักรยานยนต์
- เลือก จังหวัด/สาขา
- กรุงเทพฯ หรือต่างจังหวัด
- กรอก เลขทะเบียนรถ
- ช่องแรก อักษรนำ
- ช่องสอง เลขทะเบียน
- กรอก เลขที่บัตรประจำตัวประชาชนผู้ครอบครอง
- กรอก รหัสรักษาความปลอดภัย
เมื่อกรอกข้อมูลครบถ้วนแล้วให้ ลองกดค้นหา
ตัวอย่างข้อมูล การแสดงข้อมูลภาษีที่ต้องชำระ
สรุป
ค่าต่อภาษีรถ จะขึ้นอยู่กับ อายุรถ, ขนาดเครื่องยนต์ (CC) และน้ำหนักรถ จึงทำให้มีค่าใช้จ่ายที่ไม่เท่ากัน และอาจจะมีวิธีการคำนวณที่ยุ่งยาก เราสามารถไปที่เว็บไซค์ คำนวณ ค่าภาษีรถยนต์ ออนไลน์ ก็ได้ หรือจะไปที่เว็บไซค์ของ กรมขนส่งทางบก เพื่อดูค่าต่อภาษีได้ทันที