ต่อ ภาษี รถยนต์ ใช้ เอกสาร อะไร บ้าง

การ ต่อ ภาษี หรืออีกชื่อคือการต่อทะเบียน รถยนต์ เป็นที่ผู้เป็นเจ้าของรถยนต์จะดูแลจัดการให้ดี เพราะเป็นเรื่องที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับทั้ง กฏหมาย พรบ ประกันภัยต่างๆ และแน่นอนว่า ผู้เป็นเจ้าของรถที่พึ่งได้รถยนต์มา ก็อาจจะสงสัยเรื่อง กาารต่อ ภาษีรถยนต์ว่า ใช้ เอกสาร อะไร บ้าง

ต่อ ภาษี รถยนต์ ใช้ เอกสาร อะไร บ้าง

ต่อ ภาษี รถยนต์ ใช้ เอกสาร อะไร บ้าง

การต่อภาษีรถยนต์ จำเป็นต้องใช้เอกสารสำคัญ เพื่อที่จะใช้ในการยืนยันความเป็นเจ้าของ รถยนต์ ถูกต้องไหม

  • สำเนาบัตรประชาชน
  • เล่มทะเบียนรถ ตัวจริง หรือ สำเนา
  • ใบตรวจสภาพรถ ตรอ.
  • ใบตรวจสภาพถังแก๊ส (สำหรับรถติดแก๊ส)

ขั้นตอนการต่อภาษีรถ

ก่อนที่จะต้องต่อภาษีรถ เราจะต้องทำการตรวจสภาพรถก่อน สามารถทำได้ที่ ตรอ. โดยสิ่งที่จะตรวจจะมี

  1. การตรวจความถูกต้องของข้อมูล โดยจะเช็กกับสมุดทะเบียนรถ ว่าตรงกันกับรถที่นำมาตรวจไหม เช่น รถยี่ห้ออะไร รุ่นไหน สีอะไร ป้ายทะเบียน เลขตัวถังเครื่องยนต์ ใช้น้ำมันอะไร
  2. การตรวจภายในตัวรถ เช่น หน้าปัด พวงมาลัย กระจกมองหน้าหลัง เข็มขัดนิรภัยสวิตช์ควบคุมไฟสัญญาณ แตรสัญญาณฯลฯ
  3. การตรวจภายนอกตัวรถ เช่น ตรวจล้อรถ ยางรถ ที่กันชน ประตู และใต้ท้องรถด้วย
  4. การตรวจสอบเครื่องยนต์ ระบบควบคุม เป็นการตรวจเช็กระบบควบคุมรถ ด้วยการตรวจศูนย์ล้อและทดสอบระบบเบรก แรงเบรก เบรกมือ เบรกเท้า
  5. การตรวจระบบไฟต่างๆ ของรถ ตรวจวัดระบบไฟ จะเป็นการวัดระยะแสงไฟรถ ตรวจวัดไฟสูง และไฟต่ำ 
  6. การตรวจวัดระดับค่าแก๊ซและปริมาณควันดำ ตรวจวัดค่าก๊าซ ด้วยการเช็กค่าคาร์บอนมอนอกไซด์และไฮโดรคาร์บอน ขณะเครื่องยนต์เดินเบา และตรวจวัดปริมาณควันดำ จากปลายท่อไอเสีย 
  7. การตรวจวัดระดับเสียงของท่อไอเสีย ตรวจวัดระดับเสียงจากท่อไอเสีย ที่ความเร็วของรอบเครื่องยนต์ประมาณ 3 ใน 4 โดยค่าระดับเสียงสูงสุด จะต้องไม่เกิน 100 เดซิเบล
  8. เจ้าของรถรอรับใบรายงานผล รับใบตรวจสภาพรถยนต์ เมื่อผ่านกระบวนการตรวจสภาพรถยนต์เสร็จแล้ว 

เมื่อมีเอกสารครบแล้ว เราสามารถชำระภาษีรถยนต์ผ่านได้หลายช่องทาง ได้แก่

  • กรมขนส่งทางบก
  • เคาเตอร์เซอร์วิส 7-11
  • ห้างสรรพสินค้าที่มีบริการขายประกันภัยรถยนต์ จะมี พรบ จำหน่ายด้วยเช่นกัน
  • ตัวแทนประกันภัย
  • อู่ซ่อมรถหลายแห่งก็มีบริการทำพรบ
  • ช่องทางออนไลน์เว็บไซค์ของ กรมขนส่งทางบก

เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการชำระภาษีแล้ว เราจะได้รับเอกสารที่เป็นป้ายสี่เหลี่ยม ส่งกลับมาตามที่อยู่ที่ระบุไว้ โดยจะมีค่าบริการ 20 บาท และค่าจัดส่งเอกสาร 40 บาท

ต่อ ภาษี รถยนต์ ใช้ เอกสาร อะไร บ้าง

การคำนวณค่าภาษีรถยนต์

ค่าภาษีรถยนต์จะขึ้นอยู่กับ ขนาดเครื่องกี่ CC, น้ำหนักเท่าไร และอายุการใช้งานกี่ปี หรือ เราสามารถคำนวณค่าภาษีของรถยนต์ได้อย่างง่ายดาย ผ่านเว็บไซค์นี้ คำนวณ ค่าภาษีรถยนต์ ออนไลน์

ป้ายทะเบียนรถยนต์ ไม่เกิน 7 ที่นั่งขนาดเครื่องยนต์กี่ CCคิดภาษี CC ล่ะภาษีแต่ล่ะช่วงชั้นภาษีสะสมสูงสุด
ป้ายทะเบียน สีขาว ตัวอักษร สีดำ1-600 CC50 สตางค์300 บาท300 บาท
600-1800 CC1.50 สตางค์1800 บาท2100 บาท
1800 CC ขึ้นไป4 บาท

ตารางแสดงค่าภาษีรถยนต์สำหรับ ป้ายทะเบียน ขาว ดำ

ตัวอย่าง คำนวณสูตรคณิตศาสตร์ “รถขนาดเครื่อง 1500 CC อายุ 1 ปี”

  • อยู่ในเกณฑ์ 1-600 CC คิดภาษีล่ะ 50 สตางค์ (50 สตางค์ = 0.5)
    • 600 CC แรก = 300 (600 x 0.5)
  • อยู่ในเกณฑ์ 600-1,800 CC จึงเป็น 1,500 – 600 จะเป็น 900 ตามด้วยภาษีล่ะ 1.50 สตางค์ (1.50 สตางค์ = 1.5) นำมาคูณกันก็จะเป็น 1350
    • ส่วนเกินระหว่าง 600 ถึง 1,500 = 1,350 (1,500 – 600 = 900 x 1.5)
  • รถมีอายุการใช้งาน 1 ปียังไม่มีการลดหย่อนภาษี จึงบวก 300
    • รถมีอายุการใช้งาน 1 ปี = 1,650(1350 + 300)
ป้ายทะเบียนรถยนต์ ไม่เกิน 7 ที่นั่งน้ำหนักรถตั้งแต่เสียภาษี
ป้ายทะเบียน สีขาว ตัวอักษร สีเขียว 50-75 กก.450 บาท
751-1000 กก.600 บาท
1001-1250 กก.750 บาท
1251-1500 กก.900 บาท
1501-1750 กก.1050 บาท
1751-2000 กก.1350 บาท
2001-2500 กก.1650 บาท

ตารางแสดงค่าภาษีรถยนต์สำหรับ ป้ายทะเบียน ขาว เขียว

ป้ายทะเบียนรถยนต์ ไม่เกิน 7 ที่นั่งน้ำหนักรถเสียภาษี
ป้ายทะเบียน สีขาว ตัวอักษร สีน้ำเงินน้อยกว่า 1800 กก.1300 บาท
มากกว่า 1800 กก.1600 บาท

ตารางแสดงค่าภาษีรถยนต์สำหรับ ป้ายทะเบียน ขาว น้ำเงิน

ลดหย่อนภาษีด้วยอายุการใช้งาน

เมื่อรถมีอายุการใช้งานที่มากขึ้น จะทำให้มีการลดหย่อนภาษีตามอายุการใช้งานอีกด้วย

อายุการใช้งาน (นับเป็นปี)ลดราคา
610%
720%
830%
940%
1050%
ยิ่งรถที่มีอายุการใช้งานที่มาก จะยิ่งทำให้มีการลดหย่อนภาษีมากขึ้นอีกด้วย ทำให้ประหยัดเงินได้มากขึ้น

ตัวอย่าง คำนวณสูตรคณิตศาสตร์ “รถขนาดเครื่อง 1500 CC อายุ 8 ปี”

  • อยู่ในเกณฑ์ 1-600 CC คิดภาษีล่ะ 50 สตางค์ (50 สตางค์ = 0.5)
    • 600 CC แรก = 300 (600 x 0.5)
  • อยู่ในเกณฑ์ 600-1,800 CC จึงเป็น 1500 – 600 จะเป็น 900 ตามด้วยภาษีล่ะ 1.50 สตางค์ (1.50 สตางค์ = 1.5) นำมาคูณกันก็จะเป็น 1350
    • ส่วนเกินระหว่าง 600 ถึง 1500 = 1,350 (1,500 – 600 = 900 x 1.5)
  • รถมีอายุการใช้งาน 8 ปีจึงได้การลดหย่อนภาษี ทำให้จาก 1650 ลบด้วย 495 (40% จาก 1,650) เป็น 1,155
    • รถมีอายุการใช้งาน 8 ปี = 1,155 (1,350 + 300 = 1650 – 495)

การต่อภาษีรถยนต์ล่าช้า

  • เมื่อขาดการต่อทะเบียน จะทำให้โดนค่าปรับ 1% เพิ่มเติมของภาษีรถยนต์ต่อเดือน
  • เมื่อขาดเกิน 2 ปี จะเสียค่าปรับตามจำนวนที่ค้าง
  • เมื่อขาดเกิน 3 ปี จะถูกระงับป้ายทะเบียน ทำให้จ่ายภาษีไม่ได้ และเราต้องทำการซื้อทะเบียนใหม่ และจะต้องเสียค่าปรับตามจำนวนปีที่ขาดอีกด้วย

ต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์

ต่อภาษีรถผ่านช่องทาง ออนไลน์

เราสามารถต่อภาษี ผ่านช่องทางออนไลน์ได้ เพื่อความสะดวกมากยิ่งขึ้น ผ่านเว็บไซค์ของกรมขนส่งทางบก

การต่อภาษีรถ
  1. เข้าสู่ระบบ หรือ เข้าสู่ระบบผ่าน Digital ID
  2. เมื่อเข้าสู่ระบบได้แล้ว ให้ไปที่ บริการ แล้วกด “ชำระภาษีรถประจำปีผ่านอินเตอร์เน็ต
  3. ถ้าไม่มีข้อมูลขึ้น ให้ลองกรอกข้อมูลค้นหา หรือมีข้อมูลแล้ว ให้กดไปที่ ยื่นชำระภาษี
  4. ตรวจสอบข้อมูลให้ถูกต้อง จากนั้นกดไปที่ “เลือกวิธีชำระเงิน”
  5. เราสามารถเลือกวิธีการชำระเงิน ตามความสะดวกของเราได้

ตรวจสอบผลการชำระภาษีในกรณีที่ ชำระเงินไม่สำเร็จ

  1. Login เข้าสู่ระบบและกดไปที่ ชำระภาษีรถประจำปี แล้วกดที่ “ตรวจสอบผลชำระภาษี/เปลี่ยนช่องทางชำระเงิน”
  2. ในตารางจะแสดงข้อมูล รถของเรา เราสามารถตรวจสอบการชำระเงิน หรือ เปลี่ยนช่องทางชำระเงินก็ได้
  3. เมื่อชำระเงินสำเร็จ ทางกรมขนส่งทางบก จะส่งเอกสารได้แก่ ป้ายแสดงการเสียภาษี ผ่านทางไปรษณีย์ ส่งตามที่อยู่ที่ลงทะเบียนไว้ในเว็บไซค์ สิ่งนี้สามารถนำมาเป็นหลักฐาน ในการปรับเล่มทะเบียนได้ที่สำนักงานขนส่ง ทั่วประเทศ

สรุป

การต่อภาษี เราจะต้องเตรียมเอกสาร เหมือนกับที่ซื้อ พรบ ครั้งแรก และเพื่อยืนยันความเป็นเจ้าของรถ คือ สำเนาบัตรประชาชน, เล่มทะเบียนรถ ตัวจริง หรือ สำเนา, ใบตรวจสภาพรถ ตรอ., ใบตรวจสภาพถังแก๊ส (สำหรับรถติดแก๊ส) เพียงแค่นี้ก็สามารถต่อภาษีได้ด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง

ค่าต่อภาษีรถ ค่าใช้จ่ายที่คนมีรถต้องรู้

ตรวจสอบภาษีรถ รู้ก่อนจ่ายง่ายสะดวก

ต่อ พร บ ภาษี รถ กระบะ ราคา

Scroll to Top