ต่อ พร บ ภาษี รถ เก๋ง ราคา จะเท่าไหร่เป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายแน่นอนสำหรับเจ้าของ หรือ ผู้ครอบครองรถทุกคัน พรบ เป็นประกันภัยภาคบังคับ ภาษีรถ เป็นหน้าที่ของผู้ที่เป็นเจ้าของรถยนต์ จะต้องเสียภาษีประจำปี ราคาค่าภาษี จะแตกต่างกันตามขนาดของเครื่องยนต์กี่ CC
ส่วน พร บ จะคิดราคาตามจำนวนที่นั่งภายในตัวรถและประเภทของการใช้งาน ส่วนบุคคลหรือรถสาธารณะ ราคาจะแตกต่างกัน
ต่อ พร บ ภาษี รถ เก๋ง ราคา กี่บาท คิดยังไง
การต่อภาษีรถยนต์ รถเก๋ง มีส่วนประกอบที่สำคัญคือ ต้องมี พร บ ที่ยังไม่หมดอายุ หรือยังไม่ขาดนั้นเอง ราคาของ พรบ รถยนต์นั่งส่วนบุคคล หรือ รถเก๋งนั้น จะมีราคาที่แน่นอนตายตัว ดังนี้
- รถยนตที่นั่งไม่เกิน 7 คน ราคา 600 บาทต่อปี
- รถยนต์เกิน 7 คน แต่ไม่เกิน 15 ที่นั่ง ราคา 1,100 บาทต่อปี
- รถยนต์นั่งเกิน 15 ที่นั่ง แต่ไม่เกิน 20 ที่นั่ง ราคา 2,050 บาทต่อปี
- รถยนต์นั่งเกิน 20 ที่นั่ง แต่ไม่เกิน 40 ที่นั่ง ราคา 3,200 บาทต่อปี
- รถยนต์นั่งเกิน 40 ที่นั่ง เสียค่าต่อ พ.ร.บ. 3,740 บาทต่อปี
- รถยนต์ไฟฟ้า 600 บาทต่อปี
- ราคายังไม่ภาษีมูลค่าเพิ่มอีก 7%
คำนวณ ค่า ต่อภาษี รถ เก๋ง ราคา ตามขนาดเครื่องยนต์ CC
ราคาภาษีรถยนต์ เก๋ง ค่าธรรมเนียม แต่ล่ะคันจะไม่เท่ากัน สามารถคำนวณราคาได้จาก ขนาดเครื่องยนต์กี่ CC, น้ำหนักของรถ, และอายุการใช้งาน อย่างเช่น รถ เก๋ง ที่มีขนาดเครื่องยนต์ 1500 CC หรือ 1600 CC ต้องจ่ายเท่าไไหร่
ด้วยรายละเอียดดังกล่าว ทำให้จำนวนเงินค่าภาษีจ่ายที่ต้องชำระไม่เท่ากัน โดยจะมีวิธีจำแนกดังนี้
รถเก๋ง จะอยู่ในประเภทของ “ป้ายทะเบียนรถยนต์ ไม่เกิน 7 ที่นั่ง” อยู่ในหมวดของ “ป้ายทะเบียน สีขาว ตัวอักษร สีดำ หมายถึง รถเก๋ง, รถ SUV, รถกระบะ 4 ประตู และรถจักรยานยนต์” หลักเกณฑ์ จะอ้างอินจากเว็บไซค์ กรมขนส่งทางบก
ป้ายทะเบียนรถยนต์ ไม่เกิน 7 ที่นั่ง | ขนาดเครื่องยนต์กี่ CC | คิดภาษี CC ล่ะ | ภาษีแต่ล่ะช่วงชั้น | ภาษีสะสมสูงสุด |
---|---|---|---|---|
ป้ายทะเบียน สีขาว ตัวอักษร สีดำ | 1-600 CC | 50 สตางค์ | 300 บาท | 300 บาท |
600-1800 CC | 1.50 สตางค์ | 1800 บาท | 2100 บาท | |
1800 CC ขึ้นไป | 4 บาท |
คิดเป็นตัวเลขคณิตศาสตร์ ตัวอย่างเช่น
- รถขนาดเครื่อง 1500 CC อายุ 1 ปี
- 600 CC แรก = 300 (600 x 0.5)
- ส่วนเกินระหว่าง 600 ถึง 1500 = 1350 (1500 – 600 = 900 x 1.5)
- รถมีอายุการใช้งาน 1 ปี = 1650 (1350 + 300)
- รถขนาดเครื่อง 1600 CC อายุ 2 ปี
- 600 CC แรก = 300 (600 x 0.5)
- ส่วนเกินระหว่าง 600 ถึง 1600 = 1500 (1600 – 600 = 1000 x 1.5)
- รถมีอายุการใช้งาน 2 ปี = 1800 (1500 + 300)
- รถขนาดเครื่อง 2200 CC อายุการใช้งาน 3 ปี
- 1800 CC แรก = 2100 (600 x 0.5 = 300) + (1800 – 600 = 1200 x 1.5 = 1800) = 2100)
- ส่วนเกินระหว่าง 1800 ถึง 2200 = 1600 (2200 – 1800 = 400 x 4)
- รถมีอายุการใช้งาน 3 ปี = 3700 (1600 + 2100)
พร บ ราคาเท่าเดิม ต่อภาษี ถูกลงตามอายุการใช้งาน
เราสามารถลดราคา จ่าย ภาษี ได้ด้วยนำเปอร์เซ็น ที่เป็นส่วนลดตามปี มาลดราคาได้ (5 ปีแรกจะไม่มีการลดราคา)
อายุการใช้งาน (นับเป็นปี) | ลดราคา |
---|---|
6 | 10% |
7 | 20% |
8 | 30% |
9 | 40% |
10 | 50% |
คิดเป็นตัวเลขคณิตศาสตร์
- รถขนาดเครื่อง 1500 CC จะคิดเป็นภาษีล่ะ 1.50 สตางค์ และ ใช้งานมา 8 ปี จะลด 30%
- 600 CC แรก = 300 (600 x 0.5)
- ส่วนเกินระหว่าง 600 ถึง 1500 = 1350 (1500 – 600 = 900 x 1.5)
- รถมีอายุการใช้งาน 8 ปี = 1155 (1350 + 300 = 1650 – 495)
- รถขนาดเครื่อง 1600 CC จะคิดเป็นภาษีล่ะ 1.50 สตางค์ และ ใช้งานมา 9 ปี จะลด 40%
- 600 CC แรก = 300 (600 x 0.5)
- ส่วนเกินระหว่าง 600 ถึง 1600 = 1500 (1600 – 600 = 1000 x 1.5)
- รถมีอายุการใช้งาน 9 ปี = 1080 (1500 + 300 = 1800 – 720)
- รถขนาดเครื่อง 2200 CC จะคิดเป็นภาษีล่ะ 4 สตางค์ และ ใช้งานมา 10 ปี จะลด 50%
- 1800 CC แรก = 2100 (600 x 0.5 = 300) + (1800 – 600 = 1200 x 1.5 = 1800) = 2100)
- ส่วนเกินระหว่าง 1800 ถึง 2200 = 1600 (2200 – 1800 = 400 x 4)
- รถมีอายุการใช้งาน 10 ปี = 1850 (1600 + 2100 = 3700 – 1850)
รับ ทำ พร บ ต่อภาษีรถเก๋ง ง่ายและเร็วที่สุด
ต่อภาษีรถเก๋ง กับเราง่ายๆ แค่ถ่ายรูปทะเบียนส่งผ่านไลน์ วันเดียวเสร็จ รับเอกสารได้ทันที หรือผ่านทาง มอเตอร์ไซค์ หรือ EMS
สรุป
การต่อภาษีรถเก๋ง มีราคาที่ต้องจ่ายไม่เท่ากัน ราคานั้นจะขึ้นอยู่กับ ขนาดของเครื่อง และอายุการใช้งาน หรือเราสามารถคิดคำนวณง่ายๆเพียงแค่ไปที่เว็บไซค์ คำนวณ ค่าภาษีรถยนต์ ออนไลน์