ต่อภาษีที่ขนส่ง เมื่อถึงเวลาชำระภาษีรถยนต์ หน้าที่ของเจ้าของรถทุกคันต้องไปเสียภาษี 1ปีเสียภาษี1ครั้ง โดยสามารถทำได้ด้วยตัวเองได้หลายวิธี
วิธี ต่อภาษีที่ขนส่ง
ในปัจจุบัน เราสามารถต่อภาษีได้ ที่กรมขนส่งทางบก ทั่วประเทศ, ที่ทำการไปรษณีย์ หรือแม้แต่ช่องทาง ต่อภาษีออนไลน์ก็สามารถทำได้ทั้ง รถยนต์ และ รถมอเตอร์ไซค์ และก็มีขั้นตอนที่ไม่ยากจนเกินไป ขอแค่เพียงมี อินเตอร์เน็ตก็สามารถทำได้แล้ว โดยสามารถเลือกวิธีการที่สะดวกสำหรับเจ้าของรถได้
- สำนักงานขนส่งใกล้บ้าน
- กรุงเทพมหานครมี 5 เขตสำนักงาน
- เลื่อนล้อ ต่อภาษี (Drive Thru for Tax)
- เตรียมเอกสารให้ครบ สะดวกไม่ต้องลงจากรถ
- ตู้รับชำระภาษีรถประจำปีอัตโนมัติ (Kiosk)
- สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-5 อย่าง
- กระทรวงคมนาคม 1ตู้
- ศูนย์บริการร่วมคมนาคม เชิงสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน 1 ตู้
- ศูนย์ราชการฯ ถนนแจ้งวัฒนะ 3 ตู้
- เคาน์เตอร์เซอร์วิส
- ห้างสรรพสินค้าที่ร่วมโครงการช้อปให้พอ แล้วต่อภาษี (Shop Thru for Tax)
- ที่ทำการไปรษณีย์
- ธนาคารพาณิชย์ที่ร่วมโครงการกับกรมการขนส่งทางบก
- กรุงศรี
- กรุงไทย
- กสิกรไทย
- เว็บไซต์ https://eservice.dlt.go.th
- แอปพลิเคชั่น DLT Vehicle Tax
- แอปพลิเคชั่น mPay / True Money Wallet
วิธีการต่อภาษีที่ขนส่ง ผ่านช่องทางออนไลน์
เราจะต้องไปที่เว็บไซค์ของกรมขนส่งทางบกก่อน https://eservice.dlt.go.th/esvapp/login.jsf
- สำหรับผู้ที่ยังไม่เคยใช้งานเว็บไซค์ของกรมขนส่งทางบก ก็ให้กดไปที่ “เข้าสู่ระบบผ่าน Digital ID” เพื่อทำการ ลงทะเบียน
- กรอกเลขบัตรประชาชน และเลือกรูปแบบการพิสูจน์ตัวตน
- กรอกรายละเอียดประชาชน, รหัสหลังบัตรประชาชน ตั้งชื่อบัญชีใช้ และ รหัสผ่าน
- ยืนยันตัวตนด้วย เบอร์โทรศัพท์มือถือ
- ตรวจสอบข้อมูลให้ถูกต้อง และกด ยืนยันข้อมูล
- เมื่อเสร็จสิ้นแล้วจะมีหน้าต่างตามรูปภาพนี้ กด กลับสู่ระบบต้นทาง
- หลังจากจะพบหน้าต่างตามรูป กด ยินยอม
- หลังจากกดยินยอม จะมีหน้าต่างให้ยืนยันตัวตนทางอีเมลอีกครั้ง
- กรอกอีเมล และกดขอรหัส OTP แล้วนำเลขรหัส OTP ที่ส่งมาทางอีเมล มาใส่ที่ช่อง “รหัส OTP ทางอีเมล” และกดยืนยัน
- เมื่อกดยืนยันแล้วจะมีหน้าต่างขึ้นดังนี้
- เมื่อกด “กลับสู่หน้าข้อมูลส่วนบุคคล” จะพาไปหน้า “รายละเอียดส่วนบุคคล” หลังจากนี้เป็นอันเสร็จสิ้นการลงทะเบียน Digital ID
กลับมาที่เว็บไซค์ กรมขนส่งทางบก เพื่อทำการ “เข้าสู่ระบบผ่าน Digital ID” ด้วยรหัสที่สร้างไว้ และในตอนที่เข้าสู่ระบบครั้งแรก เราจะต้องกรอกข้อมูลที่อยู่ เพื่อสำหรับจัดส่งเอกสาร
- เมื่อกรอกเสร็จแล้ว ให้กลับมาที่หน้าแรกของ กรมขนส่งทางบก และกดไปที่ ชำระภาษี จะมีให้เลือกกด “ชำระภาษีรถประจำปีผ่านอินเตอร์เน็ต
- กดไปที่ “ลงทะเบียนรถ”
- กรอกข้อมูลการลงทะเบียนรถให้ถูกต้อง
- เมื่อกรอกเสร็จ จะมีหน้าต่าง “ลงทะเบียนรถเรียบร้อยแล้ว”
- เมื่อกรอกเสร็จแล้ว ให้กดยื่นชำระภาษี
ถ้ามีบัญชีอยู่แล้ว สามารถเข้าสู่ระบบได้เลย และก็กดไปที่ “ชำระภาษีรถประจำปีผ่านอินเตอร์เน็ต” เช่นเดียวกัน
กรณีที่ชำระเงินไม่สำเร็จ
ในกรณีที่ชำระเงินไม่สำเร็จ เราสามารถเปลี่ยนวิธีการชำระเงินได้ด้วยการ “ตรวจสอบผลการชำระภาษี/เปลี่ยนช่องทางชำระเงิน” ในหน้าแรกของ เว็บไซค์กรมขนส่งทางบก
การต่อภาษีรถยนต์ล่วงหน้า
เพื่อไม่ให้มีการขาดการต่อภาษีรถยนต์ ขนส่งมีระเบียบให้สามารถต่อภาษีได้ล่วงหน้า 3 เดือนหรือ 90 วัน โดยสามารถทำได้ที่
- ผ่านช่องทางออนไลน์ ผ่านเว็บไซค์ของกรมขนส่งทางบก
- กรมขนส่งทางบก ทั่วประเทศ ไม่จำกัดว่า จะต้องเป็นรถที่ถูกจดทะเบียนในจังหวัดใด ขอแค่มีเอกสารที่จำเป็นก็ทำได้แล้ว
- ไปรษณีย์ไทย
- ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การรเกษตร หรือ ธ.ก.ส.
- เคาน์เตอร์เซอร์วิสทั่วประเทศ
ต่อภาษีล่วงหน้า ระเบียบขนส่งให้ใช้เอกสารอะไร
- พ.ร.บ. รถยนต์ ที่ยังไม่หมดอายุ
- เล่มทะเบียนรถ
- ใบตรวจสภาพรถ
- รถยนต์ที่มีอายุ 7 ปีขึ้นไป
- หรือ รถที่ทะเบียนขาด ไม่ได้ต่อทะเบียนประจำปี
- รถที่มีการดัดแปลงเปลี่ยนโครงสร้าง
- รถที่นำมาจดทะเบียนใหม่
- เอกสารรับรองสำหรับรถยนต์ที่ใช้แก๊ส
ขาดต่อภาษี ขนส่งปรับเท่าไร
- เมื่อขาดการต่อทะเบียน จะทำให้โดนค่าปรับ 1% เพิ่มเติมของภาษีรถยนต์ที่ขาดต่อเดือน
- เมื่อขาดเกิน 2 ปี จะเสียค่าปรับตามจำนวนที่ค้าง
- เมื่อขาดเกิน 3 ปี จะถูกระงับป้ายทะเบียน ทำให้จ่ายภาษีไม่ได้ และเราต้องทำการซื้อทะเบียนใหม่ และจะต้องเสียค่าปรับตามจำนวนปีท่ต้างอีกด้วย
สรุป
การต่อภาษีในปัจจุบันเป็นเรื่องที่ ง่าย สามารถทำได้ผ่านช่องทางปกติ หรือช่องทางออนไลน์ ได้ที่เว็บไซค์ของ กรมขนส่งทางบกโดยตรง ซึ่งมีหลายช่องทาง หรือให้เราทำให้ Postantz บริการต่อ ภาษีรถ ต่อง่าย ไว ราคาถูก ได้เอกสารทันที วันนี้