ภาษีรถยนต์ขาดเกิน 3 ปี เสียเท่าไหร่ กี่บาท

ภาษีรถยนต์ขาดเกิน 3 ปี เสียเท่าไหร่ รถยนต์ที่ไม่ได้ต่อภาษีเกิน 3 ปี ทำให้ขั้นตอนการเสียภาษี ต่อทะเบียนมีขั้นตอนที่แตกต่างไปจากปรกติ ราบละเอียดมีข้อกำหนดที่ชัดเจนว่า ถือว่าทะเบียนขาด

ภาษีรถยนต์ขาดเกิน 3 ปี เสียเท่าไหร่ กี่บาท

ภาษีรถยนต์ขาดเกิน 3 ปี เสียเท่าไหร่ กี่บาท

ภาษีรถยนต์เมื่อขาดเกิน 3 ปีเราจะเสียหลายอย่างได้แก่

  • เสียค่าปรับไม่เกิน 1,000 บาท
  • จ่ายภาษีย้อนหลังสูงสุด 3 ปี และค่าปรับ 1% ต่อเดือน
  • เสียค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนรถใหม่ 565 บาท
  • เสียค่าธรรมเนียมขอแผ่นป้ายทะเบียน 5 บาท และค่าแผ่นป้ายทะเบียน 100 บาท
  • ค่าธรรมเนียมการตรวจสภาพรถใหม่ 50 บาทและค่าตรวจสภาพรถใหม่ประมาณ 200 บาท
    สำหรับรถไม่เกิน 7 ปี
  • ค่าธรรมเนียมหลักฐานการประกันภัย ตาม พ.ร.บ. รถยนต์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535
    จำนวนเงินแล้วแต่อัตราที่กำหนด เริ่มต้นประมาณ 600 บาท หากซื้อ พ.ร.บ ออนไลน์ 499 บาท
  • ค่าธรรมเนียมภาษีของรถแต่ละประเภท จำนวนเงินตามอัตราที่กำหนด เช่น รถยนต์ 4 ประตู เครื่องยนต์ 1500cc.
    เริ่มต้น 1,650 บาท
  • ค่าปรับย้อนหลังตามยอดที่ได้รับแจ้งในจดหมาย โดยประมาณ 4,000-5,000 บาท

ภาษีรถยนต์ขาดเกิน 3 ปี ต้องทำอะไรบ้าง

เราจะได้รับจดหมายแจ้งว่า ทะเบียนขาด ทำให้รถยนต์จะต้องถูกระงับ

  • เราจะต้องไปทำการต่อทะเบียนใหม่อีกครั้ง เราจะต้องแจ้งจดทะเบียนใหม่ ด้วยการเอาป้ายทะเบียนเดิมไปที่กรมขนส่งทางบก
  • ตรวจสภาพรถใหม่อีกครั้ง เพราะเราต้องมีใบรับรอง ตรอ. (สำหรับรถที่อายุเกิน 7 ปี)
  • ซื้อ พ.ร.บ. ใหม่
  • ชำระค่าปรับตามยอดที่ค้าง
  • รอรับป้ายทะเบียนใหม่

เอกสารที่ต้องเตรียมใช้ต่อทะเบียนรถยนต์ขาดเกิน 3 ปี

  • บันทึกการระงับทะเบียน
  • บัตรประชาชนเจ้าของรถ ตัวจริงและสำเนา
  • พ.ร.บ. รถยนต์อันใหม่
  • หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล / สำเนาบัตรของผู้มีอำนาจลงนาม (สำหรับรถจดทะเบียนในนามนิติบุคคล)
  • หนังสือสัญญาซื้อขาย หรือหลักฐานการขาย (สำหรับกรณีที่ไม่ใช่เจ้าของเดิม)
  • หนังสือมอบอำนาจและสำเนาบัตรประชาชนของผู้มอบอำนาจ (สำหรับกรณีที่เจ้าของรถไม่สะดวกไปดำเนินการ)

เมื่อมีเอกสารแล้ว สามารถนำไปยื่นต่อทะเบียนได้ตามช่องทางที่สะดวกเช่น

  • กรมขนส่งทางบก
  • ผ่านช่องทางออนไลน์ เว็บไซค์ กรมขนส่งทางบก
  • เคาน์เตอร์เซอร์วิส

สรุป

ภาษีรถยนต์ขาดเกิน 3 ปี เราจะเสียค่าปรับไม่เกิน 1,000 บาท, จ่ายภาษีย้อนหลังรวมกับค่าปรับ 1% ต่อเดือน และค่าธรรมเนียมอื่นๆอีกมากมาย ซึ่งรวมๆแล้วอาจจะเสียค่าปรับมากถึง 10,000 บาท และเมื่อขาดเกิน ขั้นตอนการขอต่อทะเบียนใหม่ค่อนข้างยุ่งยาก ในทางที่ดี เราจะต้องไม่ขาดต่อภาษีภายใน 1 ปี ห้ามขาดเกิน 3 ปี

บทความที่เกี่ยวข้อง

Scroll to Top